Saturday, July 27, 2019

รายการ อภิปรายนโยบายรัฐบาลด้านพลังงาน

รายการ อภิปรายนโยบายรัฐบาลด้านพลังงาน
ช่อง 2 สทท.11 (11.49 - 11.51 น.)
https://youtu.be/ibS_JeFIcbo

     นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวชี้แจง ประเด็นพลังงานว่า เรื่องของพลังงาน ทางกระทรวงพลังงานถูกมองในมิติเดียว คือ มิติของการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ของภาคเอกชน รัฐบาลชุดนี้จะดำเนินนโยบายพลังงาน โดยเน้นประชาชนทุกระดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับฐานราก ด้วยการให้ประชาชนเข้าถึงพลังงานในการเพิ่มรายได้ และยกระดับคุณภาพชีวิต
     ทั้งนี้ จะมีการทบทวนแผน PDP2018 ในบางประการ ในมิติของการนำพลังงานหมุนเวียนเข้าไปสู่ชุมชน และเป็นส่วนหนึ่งในการบริหารพลังงาน ทำให้มีรายได้ กลไกเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นพลังงานแสงอาทิตย์ วัสดุเหลือใช้จากภาคเกษตรต่างก็อยู่ในแผนทั้งสิ้น
     นอกจากนี้ กระทรวงพลังงานจะใช้กองทุนอนุรักษ์พลังงาน มาเป็นเครื่องมือในการสนับสุนนการพัฒนาพลังงานระดับชุมชน เพื่อให้เกิดการผลิตพลังงาน การสร้างอาชีพ ซึ่งจะดำเนินการมากขึ้นตามนโยบายในปีนี้ ไม่ว่าจะเป็นการนำเอาระบบสูบน้ำจากภาคเกษตร เพื่อขยายพื้นที่เกษตรแต่จะมีวิธีการทำงานที่เพิ่มขึ้นกว่าเดิม หรือการใช้พลังงานแสงอาทิตย์...


Monday, July 22, 2019

ต้นแบบโรงเรือนอัจฉริยะ-วิทยาลัยการอาชีพแจ้ห่ม


ความสำคัญและที่มาของปัญหาที่ทำการวิจัย
ปัจจุบันเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ ได้เข้าไปมีบทบาทในแทบทุกสาขาอาชีพ ไม่เว้นแม้แต่ชาวไร่ชาวสวน ที่หันมาใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มคุณภาพของผลผลิต สอดคล้องกับนโยบายภาครัฐ ประเทศไทย 4.0” ซึ่งมีเนื้อหาในการเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่ “Value-Based Economy” หรือเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมโดยมีประเด็นด้านการพัฒนาระบบเกษตรกรรมแบบดั้งเดิมไปสู่เกษตรกรรม      สมัยใหม่ หรือที่เรียกว่า “Smart Farming” แนวคิดหลักของสมาร์ทฟาร์ม คือ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ รวมถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในการพัฒนาทั้งห่วงโซ่อุปทาน (Supply chain) ของกระบวนการผลิตสินค้าเกษตรไปจนถึงผู้บริโภค เพื่อยกระดับคุณภาพการผลิตลดต้นทุน รวมทั้งพัฒนามาตรฐานสินค้า
          ในอำเภอแจ้ห่มประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก โดยยังทำการเกษตรแบบดังเดิมคือการใช้แรงงานจากคนและเครื่องจักรกล โดยยังไม่มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกและการวิเคราะห์ข้อมูลการผลิต ปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากการเข้าถึงแหล่งให้ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีด้านการเกษตรของประชาชน วิทยาลัยการอาชีพแจ้ห่มเป็นสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนในด้านอาชีวศึกษา เป็นสถานศึกษาที่ให้ความรู้ทางด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี การสร้างสิ่งประดิษฐ์เพื่อแก้ช่วยปัญหาที่เกิดกับชุมชน ถือเป็น      พันธกิจหลักของทางวิทยาลัย
ต้นแบบโรงเรือนอัจฉริยะ เป็นนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ที่จะช่วยให้การทำการเกษตรของเกษตรกรได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น ต้นแบบโรงเรือนอัจฉริยะ จะเป็นการควบคุมการเพราะปลูกในระบบโรงเรือน โดยสามารถควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น และแสงสว่างให้เหมาะสมกับพืชที่เพราะปลูก ส่งผลให้การเจริญเติบโตของพืชได้อย่างเต็มที่ ผลผลิตมีคุณภาพ การสร้างต้นแบบโรงเรือนอัจฉริยะ ถือว่าเป็นการนำความรู้ทางด้านเทคโนโลยีมาช่วยแก้ปัญหาให้กับชุมชน นับว่ามีประโยชน์ต่อสถานศึกษาและชุมชน จึงเสนอโครงการต้นแบบโรงเรือนอัจฉริยะดังกล่าว
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
เพื่อสร้างชุดสาธิตต้นแบบโรงเรือนอัจฉริยะ
เพื่อเป็นต้นแบบสำหรับการทำการเกษตรอัจฉริยะแก่ชุมชน
เพื่อส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และแก้ไขปัญหาอย่างมีขั้นตอนด้วยกระบวนการวิจัย
ผลสำเร็จและความคุ้มค่าของโครงการวิจัยที่คาดว่าจะได้รับ
ได้อุปกรณ์ป้องกันและเตือนภัยจากการโจรกรรมรถจักรยานยนต์
ได้คิดค้น สิ่งประดิษฐ์ สร้างเครื่องที่สามารถใช้งานได้ มีความปลอดภัย จากความรู้ที่ได้ศึกษามาให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชน และสังคม

ประโยชน์และคุณลักษณะ  :
ผลงานสิ่งประดิษฐ์สามารถเลือกโหมดในการทำงาน โหมดควบคุมด้วยตนเอง กับโหมดอัตโนมัติ และสามารถแสดงการวัดอุณหภูมิ ความชื้นความเข้มของแสง และแสดงกราฟ บนเว็บไซต์ได การควบคุมการทำงานด้วยตนเองสามารถควบคุมการทำงานอุปกรณ์ต่างๆ ผ่านเว็บไซต์ไดการควบคุมแบบอัตโนมัติสามารถควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ โดยการตั้งค่าต่ำสุด และสูงสุดของอุณหภูมิ ความชื้น ความเข้มของแสงอุปกรณ์สามารถทำงานตามโปรแกรม

1.  ผู้เรียนได้มีองค์ความรู้ใหม่การควบคุมอุปกรณ์ในโรงเรือน
2.  ผู้เรียนได้มีประสบการณ์ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่เพื่อการประกอบอาชีพในอนาคต  


คู่มือการใช้งาน เครื่องต้นแบบโรงเรือนอัจฉริยะ


1.        รายละเอียดด้านคุณลักษณะ และการติดตั้ง ประกอบด้วย
   ส่วนประกอบของต้นแบบโรงเรือนอัจฉริยะ

หมายเลข 1 คือ กล่องควบคุมระบบ
          หมายเลข 2 คือ ชุดหลอดไฟให้แสงแก่พืช
          หมายเลข 3 คือ พัดลมระบายอากาศ
          หมายเลข 4 คือ เซ็นเซอร์ตรวจวัด ค่าอุณหภูมิ และความชื้น
          หมายเลข 5 คือ หัวพ่นหมอก เพิ่มความชื้น
          หมายเลข 6 คือ เซ็นเซอร์ตรวจวัดค่าความชื้นในดิน
          หมายเลข 7 คือ สปริงเกอร์ลดน้ำต้นไม้
      หมายเลข 8 คือ พัดลมให้อากาศ
      หมายเลข 9 คือ ระบบให้ความเย็น ( Evaporative Air Cooling ) 
















เครื่องจักรไม่เกิน50hp (37kW) ไม่ถือเป็นโรงงาน

พรบ. โรงงานฯฉบับที่ 2 ประกาศราชกิจจานุเบกษาแล้ว มีผลบังคับใช้เมื่อพ้นหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาครับ
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/056/T_0213.PDF
คำอธิบายเพิ่มเติม พรบ. โรงงาน 2562 ซึ่งลงในราชกิจจา 30 เม.ย. 2562.
1. ถือว่าเป็นผลงานชิ้นโบว์แดงของรัฐบาลนี้ ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูป
2. พรบ. นี้ จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ ต้นเดือน พ.ย. 2562 เป็นต้นไป.
3. ตามมาตรา 4 เครื่องจักรที่มีขนาดไม่เกิน 50 แรงม้า (37 kW) ไม่เป็นโรงงาน.  ดังนั้น การติดตั้งโซลาร์ที่มีขนาดรวมของแผง + อินเวอร์เตอร์ ถ้าไม่เกิน 37 kW ไม่ว่าจะอยู่ บนดิน บนน้ำ ไม่ว่า จะ on grid. Off grid  ไม่ต้องขอใบ รง. 4 (ใบอื่นๆ ต้องดู พรบ. อื่นประกอบ)
4  มาตรา 3 ให้อำนาจ รมต. ประกาศให้ยกเว้นว่า ไม่เป็นโรงงาน ในกรณี รง. ของราชการ  รง. เพื่อการวิจัย รง. เพื่อการอบรม ....
เอาเป็นว่า ตั้งแต่ พ.ย. 2562 เป็นต้นไป
ต้องร้องเฮ ว่า ใครจะติดตั้งแผงเซลล์บนพื้นดิน บนน้ำ ถ้าตัวแผงไม่เกินประมาณ 18 kWp จะไม่ติดขัดผังเมือง ไม่ต้องขอ รง. 4.
ส่งผลให้ โซลาร์ภาคประชาชน  จะสามารถติดตั้งแผง บนพื้นดินได้  ถ้าหลังคามีพื้นที่ไม่พอ.
ส่งผลให้เจ้าของอาคารติดตั้งแผงเป็นหลังโรงจอดรถ (โดยไม่ต้องมีเมทัลชีต) ได้.
ส่งผลให้ โซลาร์ flosting ขนาดเล็ก ไม่เกิน 18 kWp ติดตั้งได้ในเมือง
ส้งผลให้  Solar Charging Station  เกิดได้ทุกที่ไม่ติดผังเมือง

โครงการส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงนิเวศสู่เมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืน ของ สิ่งแวดล้อมภาค2










รายงานการประชุม ครั้งที่1