ความสำคัญและที่มาของปัญหาที่ทำการวิจัย
ปัจจุบันเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ
ได้เข้าไปมีบทบาทในแทบทุกสาขาอาชีพ ไม่เว้นแม้แต่ชาวไร่ชาวสวน
ที่หันมาใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มคุณภาพของผลผลิต
สอดคล้องกับนโยบายภาครัฐ “ประเทศไทย 4.0” ซึ่งมีเนื้อหาในการเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่
“Value-Based Economy” หรือ“เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม”
โดยมีประเด็นด้านการพัฒนาระบบเกษตรกรรมแบบดั้งเดิมไปสู่เกษตรกรรม สมัยใหม่ หรือที่เรียกว่า “Smart
Farming” แนวคิดหลักของสมาร์ทฟาร์ม คือ
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ รวมถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ในการพัฒนาทั้งห่วงโซ่อุปทาน (Supply chain) ของกระบวนการผลิตสินค้าเกษตรไปจนถึงผู้บริโภค
เพื่อยกระดับคุณภาพการผลิตลดต้นทุน รวมทั้งพัฒนามาตรฐานสินค้า
ในอำเภอแจ้ห่มประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก
โดยยังทำการเกษตรแบบดังเดิมคือการใช้แรงงานจากคนและเครื่องจักรกล
โดยยังไม่มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกและการวิเคราะห์ข้อมูลการผลิต
ปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากการเข้าถึงแหล่งให้ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีด้านการเกษตรของประชาชน
วิทยาลัยการอาชีพแจ้ห่มเป็นสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนในด้านอาชีวศึกษา
เป็นสถานศึกษาที่ให้ความรู้ทางด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี
การสร้างสิ่งประดิษฐ์เพื่อแก้ช่วยปัญหาที่เกิดกับชุมชน ถือเป็น พันธกิจหลักของทางวิทยาลัย
ต้นแบบโรงเรือนอัจฉริยะ
เป็นนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ที่จะช่วยให้การทำการเกษตรของเกษตรกรได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น
ต้นแบบโรงเรือนอัจฉริยะ จะเป็นการควบคุมการเพราะปลูกในระบบโรงเรือน
โดยสามารถควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น และแสงสว่างให้เหมาะสมกับพืชที่เพราะปลูก
ส่งผลให้การเจริญเติบโตของพืชได้อย่างเต็มที่ ผลผลิตมีคุณภาพ
การสร้างต้นแบบโรงเรือนอัจฉริยะ ถือว่าเป็นการนำความรู้ทางด้านเทคโนโลยีมาช่วยแก้ปัญหาให้กับชุมชน
นับว่ามีประโยชน์ต่อสถานศึกษาและชุมชน
จึงเสนอโครงการต้นแบบโรงเรือนอัจฉริยะดังกล่าว
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
เพื่อสร้างชุดสาธิตต้นแบบโรงเรือนอัจฉริยะ
เพื่อเป็นต้นแบบสำหรับการทำการเกษตรอัจฉริยะแก่ชุมชน
เพื่อส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และแก้ไขปัญหาอย่างมีขั้นตอนด้วยกระบวนการวิจัย
ผลสำเร็จและความคุ้มค่าของโครงการวิจัยที่คาดว่าจะได้รับ
ได้อุปกรณ์ป้องกันและเตือนภัยจากการโจรกรรมรถจักรยานยนต์
ได้คิดค้น สิ่งประดิษฐ์
สร้างเครื่องที่สามารถใช้งานได้ มีความปลอดภัย
จากความรู้ที่ได้ศึกษามาให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชน และสังคม
ประโยชน์และคุณลักษณะ :
ผลงานสิ่งประดิษฐ์สามารถเลือกโหมดในการทำงาน
โหมดควบคุมด้วยตนเอง กับโหมดอัตโนมัติ และสามารถแสดงการวัดอุณหภูมิ ความชื้นความเข้มของแสง
และแสดงกราฟ บนเว็บไซต์ได การควบคุมการทำงานด้วยตนเองสามารถควบคุมการทำงานอุปกรณ์ต่างๆ
ผ่านเว็บไซต์ไดการควบคุมแบบอัตโนมัติสามารถควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ โดยการตั้งค่าต่ำสุด
และสูงสุดของอุณหภูมิ ความชื้น ความเข้มของแสงอุปกรณ์สามารถทำงานตามโปรแกรม
1.
ผู้เรียนได้มีองค์ความรู้ใหม่การควบคุมอุปกรณ์ในโรงเรือน
2.
ผู้เรียนได้มีประสบการณ์ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่เพื่อการประกอบอาชีพในอนาคต
คู่มือการใช้งาน
เครื่องต้นแบบโรงเรือนอัจฉริยะ
1. รายละเอียดด้านคุณลักษณะ
และการติดตั้ง ประกอบด้วย
ส่วนประกอบของต้นแบบโรงเรือนอัจฉริยะ
หมายเลข 1 คือ กล่องควบคุมระบบ
หมายเลข 2 คือ
ชุดหลอดไฟให้แสงแก่พืช
หมายเลข 3 คือ
พัดลมระบายอากาศ
หมายเลข 4 คือ
เซ็นเซอร์ตรวจวัด ค่าอุณหภูมิ และความชื้น
หมายเลข 5 คือ หัวพ่นหมอก
เพิ่มความชื้น
หมายเลข 6 คือ
เซ็นเซอร์ตรวจวัดค่าความชื้นในดิน
หมายเลข 7 คือ
สปริงเกอร์ลดน้ำต้นไม้
หมายเลข 8 คือ พัดลมให้อากาศ
หมายเลข 9 คือ ระบบให้ความเย็น (
Evaporative
Air Cooling )
No comments:
Post a Comment