Sunday, December 17, 2017

“ชัชชาติ”แนะเชียงใหม่จุดเปลี่ยน-ประตูสู่โอกาส

มติชนออนไลน์
หน้าแรก  นิวส์มอนิเตอร์
นิวส์มอนิเตอร์
“ชัชชาติ”แนะเชียงใหม่จุดเปลี่ยน-ประตูสู่โอกาส ไม่ทิ้งสมาร์ทฟาร์มมิ่ง ดันดิจิทัลวัลเลย์
วันที่ 15 ธันวาคม 2560 - 21:20 น.
59
SHARES

เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2560 ที่ห้องลานนา บอลรูม โรงแรมแชงกรี-ลา จ.เชียงใหม่ หนังสือพิมพ์ ‘ประชาชาติธุรกิจ’ จัดสัมมนา” เชียงใหม่ 2018…จุดเปลี่ยน ประตูสู่โอกาส” มีนายกฤษณ์ ธนาวณิช รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนา
โดย รศ.ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการ บมจ.ควอลิตี้ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) บรรยายพิเศษในหัวข้อ ‘เตือนคุณล่วงหน้า พร้อมรับความเปลี่ยนแปลง’ ว่า วันนี้ที่จะพูดใน 3 เรื่อง คือ อนาคต เทคโนโลยี การรับมือกับอนาคตอย่างไร ซึ่งเรื่องแรกอนาคตนั้นอยู่ที่นี่แล้วแต่ยังกระจายไปไม่ทั่วถึง ตามความหายของวิลเเลียม กิปสันส์ สำหรับกรุงเทพรถ EV หรือรถยนต์ไฟ มาแน่ แต่เชียงใหม่ล้ำกว่าเพราะมีรถตุ๊กตุ๊ก พลังงานไฟฟ้าใช้ 450 คัน ดูแลเรื่องความสะอาดไร้เสียง สุขภาพมาแน่และเชียงใหม่คือหนึ่งในเมืองที่อยู่แถวหน้า คนใส่นาฬิกาสุขภาพ โรเล็กซ์ ราคาแพงไม่เอาแล้ว ตามด้วยอาหาร ผัก 5 สี ผักสุขภาพปลอดสารพิษ และการนำเครื่องมือมาใช้แทนคนในสนามบิน ไม่มีวันหยุด พนักงานเคาน์เตอร์หมดไป เครื่องมีประสิทธิภาพมากกว่า แล้วมนุษย์จะมีงานทำหรือไม่ บอกเลยว่างานเยอะกว่าเดิม

รศ.ดร.ชัชชาติกล่าวว่า ล่าสุดเชียงใหม่มีสายการบินกาตาร์มาเปิดเชียงใหม่ น่าตกใจเพราะดีที่สุดในโลก เชียงใหม่มีดีแน่ เตรียมตัวพร้อมหรือยังในการรองรับเพราะยุโรปเต็มลำนะ กรุงเทพฯ ในร้าน 7-11 มีอาลีเพย์ วีแช็ทหมดแล้ว เชียงใหม่ก็มีแล้วตั้งแต่สนามบิน ร้านค้า รถแดง การแต่งงานของจีนใส่เงินผ่าน QR Code ขอทานก็ยังมี คนจีนมาฝึกงานพูดไทยคล่องเขาเตรียมคนไว้หมดแล้ว เรียนไทยตั้งแต่มัธยมฯ เด็กไทยต้องแข่งขันพร้อมหรือยัง ช้อปปิ้งออนไลน์หนีไม่พ้น ปัจจุบันโตขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นเดลิเวอร์รี่มาแน่นอน
รศ.ดร.ชัชชาติกล่าวว่า บริษัทเคอรี่ธุรกิจพุ่งขึ้นเรื่อยๆ กำไรเพิ่มจาก 19 ล้าน เป็น 38 ล้าน ธุรกิจอาหารก็ต้องพร้อมส่งเดลิเวอร์รี่ อาหารอนาคตโฟเซ่นฟู็ด เด็กชินกับการซื้อใน 7-11 ไม่ไปซื้อร้านข้าวแกงข้างทางแล้ว ทุกวันนี้ป้ายรถเมล์เชียงใหม่ร้าง เพราะคนไม่ชอบการเดิน แต่รถไฟรางเบาจะไปได้หรือเปล่า ต้องคิดแบบใหม่ ส่วนป้ายโฆษณาว่างเต็มไปหมด อนาคตหมด เปลี่ยนไปอยู่ในออนไลน์ คนผ่านเข้าไปดูมหาศาล พลังของเทคโนโลยี โดยเฉพาะสกุลเงิน Bitcoins ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

รศ.ดร.ชัชชาติกล่าวว่า ส่วนเรื่องเทคโนโลยี ที่เกี่ยวข้องกับเชียงใหม่ ดูจากโทรศัพท์ที่เปลี่ยนแปลงไปหลังมีมือถือ 10 ปีเปลี่ยนเร็วมาก เพราะการ์ดอน มัวร์ นักวิทยาศาสตร์เคยคาดการณ์ไว้ว่า ชิปมีพลังในการคำนวณมากขึ้นในทุก 2 ปี ปัจจุบันเพิ่มเป็น 8 ล้านเท่า ในขณะที่ราคาถูกลงด้วย คนไม่ได้ฉลาดขึ้นแต่เครื่องมือฉลาดมากขึ้น ช่วงหลังใครเกาะเทคโนโลยีทันจะอยู่ได้ แล้วคนยังมีความหมายอยู่หรือไม่ ต้องอัพเดทตัวเองตลอดเวลา

“พูดถึงเรื่องรถแดงเชียงใหม่ยังอยู่ตามวัฒนธรรม เรียกแล้วสามารถเพิ่มระยะไปเองได้โดยเราไม่อยากไป ต้องนำเทคโนโยลีเข้ามาช่วยให้เร็วที่สุด ส่วนการคำนวณบนเมฆ หรือ Cloud compuing เชื่อว่าทุกคนใช้อยู่ เมื่อทุกอย่างเชื่อมต่อกันก็ใช้ได้แม้จะไม่อยู่ในเครื่องมือถือของเราก็ตาม แชร์ข้อมูลกันได้ ระยะทางไม่มีอุปสรรค ปัจจุบันมีคนทำแล้วในเชียงใหม่ดูแลลูกค้าทั้งหมดผ่าน Cloud ต้นทุนไม่แพง ตามด้วย Big Data ข้อมูลในโลกเปลี่ยนไปในอินเตอร์เน็ต เพราะมีปริมาณมาก ทั้งหนัง ภาพ ความเร็วสูง เวลาไม่จำกัด ลดต้นทุนและเวลาในการขนส่ง เรียกว่าเกือบฟรีและเกือบทันทีผ่านเครือข่าย เป็นดิจิทัล 01 01 มีตัวอย่างเป็นบริษัทในเชียงใหม่ CGSCAPE แต่ขายของทั้งหมดไปทั่วโลก” รศ.ดร.ชัชชาติกล่าว

รศ.ดร.ชัชชาติกล่าวว่า ส่วน Platform Revolution รูปแบบนี้ค้าขายได้ง่าย มีผู้ซื้อผู้ผลิต ขยายได้เร็ว เข้าออกง่ายทั่วโลก มีผลตอบรับเร็ว ห้างสรรพสินค้าทำไม่ได้ ที่จะอยู่ในห้างได้คือสินค้าที่นิยมสูง ในขณะที่ในอาลีบาบามีสินค้าชนิดเดียวแต่มีแสนยี่ห้อให้เลือก ห้องเช่าในเชียงใหม่มาให้เลือกเต็มไปหมดใน Platform ดูราคา รูป คนทั่วโลกเห็นพร้อมกันด้วยพลัง Platform นี่คือธุรกิจที่ทำให้คนมีที่ยืน หากดีจริง ซึ่งทั้งหมดหนีไม่พ้นคุณภาพเป็นหัวใจ งานไม่ได้หายไป แต่เปลี่ยนรูปแบบไป เทคโนโลยีทำให้มีงานเพิ่ม แรงงานต้องปรับตัวให้ทัน โฆษณาร่วง แต่ QR Code เพิ่ม

“แล้วการรับมืออนาคตจะทำอย่างไร มีงานทำอยู่ไหม มีกฎ 3 ข้อ คือ 1.อย่ามีหนี้เกินรายได้ และทำให้ดีที่สุดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ เชียงใหม่ 4.0 มุ่งเพิ่มประสิทธิภาพ เพราะเชียงใหม่มีโครงสร้างที่ดี การเกษตรดีทิ้งไม่ได้ ทำสมาร์ทฟาร์มมิ่ง จะทำอย่างไรให้ดูที่คน 2.อย่าเพิ่งตาย ดูแลสุขภาพให้ดี 3.อย่าหยุดหาความรู้ เพราะโลกเปลี่ยน ไปดูข้อมูลต่างๆ อยากเห็นความเปลี่ยนแปลง คิดหาสิ่งที่ดีขึ้น บริหารความเสี่ยง มีประสบการณ์กว้างและรู้ลึก รู้เรื่องสังคม ตัดสินใจจากหลายมิติ มีความคิดสร้างสรรค์ อย่าหยุดอยู่กับที่ อ่านหนังสือให้มากนำมาประยุกต์ใช้ ทำธุรกิจต้องเข้าใจผู้ใช้ หาโจทย์ คำตอบ ทดสอบ จะพบสิ่งที่เหมาะสม อย่ากลัวเทคโนโลยี แต่ไม่เห่อ ขอให้เข้าใจและเลือกใช้ เริ่มจากลูกค้าสำคัญว่าเข้าใจเทคโนโลยี ที่น่าสนใจคือ แอร์เอเชีย ที่ปรับเทคโนโลยีเข้ามาใช้ หรือการทำข้าวต้มมัด จะทำอย่างไรเก็บให้ได้ 1 ปี ไม่มีสารกันบูด รสชาติเหมือนเดิม ก็ต้องไปค้นหาข้าวที่ดี ปัจจุบันขายได้ดี มองสิ่งใกล้ตัวเราดึงมาต่อยอด ทดสอบสูตรเป็นปี จนได้ข้าวต้มมัดที่อร่อยเหมือนเดิม นี่คือตัวอย่างเทคโนโลยีสร้างงาน”รศ.ดร.ชัชชาติกล่าว

รศ.ดร.ชัชชาติกล่าวว่า เมืองเชียงใหม่จะเป็นอย่างไร ซุปเปอร์ไฮเวย์ นักท่องเที่ยวดีกับเราจริงไหม เมืองที่จะพัฒนาได้จะต้องสามารถดึงดูคนเก่งและคนมีความสามารถมาที่เมืองนั้น ต้องไม่ขาดทรัพยากรบุคคลที่ดี เพราะเชียงใหม่มีจุดแข็งเรื่องคุณภาพชีวิตที่ดี รักเมืองเชียงใหม่ คนเก่งที่ไม่สร้างปัญหาให้กับเมือง อนาคตต้องดูแลเกษตรกร สมาร์ทฟาร์มมิ่งทิ้งไม่ได้ Local Product ขอแค่มีคุณภาพ มีดิจิทัลวัลเลย์ ใช้อินเตอร์เน็ตทำงานไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน อนาคตเชียงใหม่ขึ้นอยู่ที่คน ไม่น่าจะขึ้นอยู่ที่รถไฟความเร็วสูง สนามบิน เพราะเชียงใหม่ค่าครองชีพต่ำ แต่มีจุดเสียในสายตาชาวต่างชาติคือ จราจรติดขัด การดูแลสุขภาพยังไม่ดี ยังไม่รู้สึกปลอดภัย ยกตัวอย่าง คลองแม่ข่า สิ่งแวดล้อมเรายังดี รีบแก้ปัญหาน้ำเน่า ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง อนาคตเชียงใหม่ยังไปได้ไกล   
https://www.matichon.co.th/news/768335

Tuesday, December 12, 2017

อบต.บ้านเป้า อ.เมืองลำปาง

http://www.banpao-lampang.go.th/information.html

SCG2 บริษัทปูนซิเมนต์ไทย (ลำปาง) จำกัด

source : http://www.ryt9.com/s/bmnd/2088395




บริษัทปูนซิเมนต์ไทย (ลำปาง) จำกัด หรือปูนลำปาง เป็นโรงงานผลิตปูนซีเมนต์แห่งแรกของภาคเหนือ เป็นบริษัทในกลุ่มธุรกิจซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง และเป็นโรงงานผลิตปูนซีเมนต์แห่งที่ 5 ของเอสซีจี (SCG) ตั้งอยู่ที่ ต.บ้านสา อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง บนพื้นที่ 7,590 ไร่ เริ่มผลิตปูนซีเมนต์เมื่อ 9 ธันวาคม 2539 มีกำลังการผลิต 2.4 ล้านตันต่อปี มีจำนวนพนักงาน 294 คน จำนวนพนักงานคู่ธุรกิจ 1,300 คน โดยผลิตปูนตราช้าง ปูนตราเสือ นับแต่เริ่มโครงการในปี 2537 จนกระทั่งถึงปัจจุบัน บริษัทฯ ยึดหลักการดำเนินการและของปูนซิเมนต์ไทย (ลำปาง) จำกัดที่ว่า "สร้างงาน สร้างความเจริญ รักษาสิ่งแวดล้อม และเป็นพลเมืองดีของลำปาง" เสมอมา ซึ่งที่ผ่านมาได้จัดโครงการสร้างสรรค์สิ่งดีๆ หลากหลายโครงการ เช่น โครงการ SCG รักษ์น้ำเพื่ออนาคต โครงการสร้างฝายชะลอน้ำ โครงการหนึ่งหน่วยงาน สร้างสรรค์ชุมชน (One Cell One Project) โครงการ SCG Do It Green ซึ่งตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทฯ ปูนลำปางได้เป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดลำปาง และร่วมกิจกรรมต่างๆ ของจังหวัดลำปางมาโดยตลอด


สำหรับการทำเหมืองหินปูนนั้น บริษัทฯ ได้ริเริ่มรูปแบบการทำเหมืองที่ทันสมัยที่เรียกว่า Semi Open Cut Mining แห่งแรกในไทย ซึ่งเป็นการพัฒนาหน้าเหมืองจากด้านในของภูเขา ทำให้ด้านนอกของภูเขาเป็นเสมือนขอบกำบัง ช่วยลดความดังของเสียงและฝุ่นไม่ให้กระจายออกสู่ภายนอก ขณะเดียวกันฟื้นฟูป่าด้วยการปลูกพันธุ์ไม้ท้องถิ่นเพื่อมีสัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ดั้งเดิมได้อาศัยก่อให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพ การใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด (Resource Utilization) เริ่มตั้งแต่การวางแผนทำเหมืองให้ได้คุณภาพไปจนถึงการฟื้นฟูเหมืองให้มีทัศนียภาพเขียวขจีใกล้เคียงกับสภาพเดิมตลอดอายุการทำเหมือง การนำความร้อนเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตปูนซีเมนต์มาผลิตกระแสไฟฟ้า (Waste Heat Power Generation) ช่วยลดค่าใช้จ่ายจากการซื้อกระแสไฟฟ้าได้ปีละประมาณ 27% ใช้เทคโนโลยีระบบกำจัดฝุ่นด้วยไฟฟ้าสถิตย์ (EP) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีทันสมัย และมีประสิทธิภาพสูง สามารถกำจัดฝุ่นได้มากถึง 99.97% พร้อมทั้งกำหนดค่าการปล่อยฝุ่น Emission Specification ไม่เกิน 50 มิลลิกรัม/Nm3 ทำให้ผลิตปูนซีเมนต์ควบคู่ไปกับการรักษาคุณภาพอากาศ เลือกใช้สินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Procurement) จัดซื้อสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือจัดซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการ (Supplier) ที่มีกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งช่วยรักษาทัศนียภาพ และการเผาปูนในระบบหล่อเย็นเครื่องจักรซึ่งจะไม่มีการปล่อยน้ำออกจากโรงงาน

ในด้านการรักษาสิ่งแวดล้อมที่จะช่วยเหลือสังคมโดยส่วนรวมก็คือโครงการฝายชะลอน้ำ หรือฝายชะลอความชุ่มชื้น เป็นโครงการที่ดำเนินการมาตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2546 ปัจจุบันมีฝายชะลอน้ำภายในบริเวณโรงงานและชุมชนเครือข่ายถึงกว่า 53,600 ฝาย ซึ่งมีการส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างฝายชะลอน้ำในชุมชนกัลยาณมิตรต่างๆ อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน การใช้พลังงานอย่างคุ้มค่ามากที่สุด บริษัทฯ ได้นำลมร้อนเหลือทิ้งจากการผลิตนำกลับมาผลิตกระแสไฟฟ้า ในโครงการ WHG ได้ประมาณ 9 MW สามารถทดแทนปริมาณที่ใช้อยู่ได้ถึง 30% ช่วยลดการปลดปล่อย Co2 และยังมีส่วนร่วมการแก้ไขปัญหาสังคมโดยช่วยกำจัดวัสดุเหลือใช้จากสังคมชุมชน ในโครงการ RDF (Refuse-Derived Fuel)

กระทรวงอุตสาหกรรม ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคมในเชิงรุก มุ่งเน้นการส่งเสริมและพัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้เติบโตอย่างยั่งยืนเพื่อให้เป็นรูปธรรม โดยร่วมกับทุกหน่วยงานของกระทรวงอุตสาหกรรมสถาบันเครือข่ายสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด รวมทั้งนิคมอุตสาหกรรมทั่วประเทศส่งเสริมให้สถานประกอบการทั่วประเทศดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องสู่การเป็น "อุตสาหกรรมสีเขียว" ใน 5 ระดับ ได้แก่

ระดับที่ 1 ความมุ่งมั่นสีเขียว (Green Commitment) หมายถึง องค์กรที่มีความมุ่งมั่นที่จะลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และมีการสื่อสารภายในองค์กรให้ทราบโดยทั่วกัน

ระดับที่ 2 ปฏิบัติการสีเขียว (Green Activity) หมายถึง องค์กรที่มี การดำเนินกิจกรรมเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้สำเร็จตามความมุ่งมั่นที่ตั้งไว้

ระดับที่ 3 ระบบสีเขียว (Green System) หมายถึง องค์กรที่มีการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ มีการติดตาม ประเมินผลและทบทวนเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงได้รับรางวัลด้านสิ่งแวดล้อมที่เป็นที่ยอมรับ และการรับรองมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ

ระดับที่ 4 วัฒนธรรมสีเขียว (Green Culture) หมายถึง องค์กรที่ทุกคนในองค์กรให้ความร่วมมือร่วมใจดำเนินงานอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในทุกด้านของการประกอบกิจการ จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กร และ

ระดับที่ 5 เครือข่ายสีเขียว (Green Network) หมายถึง องค์กรที่แสดงถึงการขยายเครือข่ายตลอดโซ่อุปทานสีเขียว โดยสนับสนุนให้คู่ค้าและพันธมิตรเข้าสู่กระบวนการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวด้วย

สำหรับเกณฑ์กำหนดอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 5 ประกอบด้วย องค์กรต้องมีระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและมีการสร้างวัฒนธรรมองค์กรเป็นไปตามเกณฑ์กำหนดอุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 4 ทุกข้อ

องค์กรต้องดำเนินการส่งเสริม สร้าง และสานสัมพันธ์ กิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) ที่ครอบคลุมทั้งห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ชุมชนและผู้บริโภค และต้องทำให้ประสบความสำเร็จเป็นที่ประจักษ์และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน โดยต้องส่งเสริมให้ห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) มุ่งสู่อุตสาหกรรมสีเขียว และนำมาปฏิบัติให้เกิดประสิทธิผล โดยต้องดำเนินการให้ครอบคลุมทั้งห่วงโซ่อุปทานและต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ต้องส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน และการพัฒนาชุมชนและต้องร่วมกับชุมชนในการ กระตุ้นจิตสำนึกและส่งเสริมความรู้ความเข้าใจต่อการบริโภคที่ยั่งยืน โดยให้ความสำคัญและใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม ต้องให้ความรู้และความตระหนักแก่ผู้บริโภคในการบริโภคที่ยั่งยืน องค์กรต้องจัดทำรายงานการดำเนินการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสร้าง สานสัมพันธ์กิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและสรุปรายงานผลความสำเร็จเผยแพร่

จากความพร้อมที่ผ่านการตรวจประเมินและรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวระดับ 5 "เครือข่ายสีเขียว" ทั้งในส่วนเหมืองแร่หินปูนและโรงงาน เป็นรายแรกของประเทศไทย และเมื่อเร็วๆ นี้ นายสุรชัย นิ่มละออ กรรมการผู้จัดการบริษัทปูนซิเมนต์ไทย (ลำปาง) จำกัด ได้เข้ารับรางวัลอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับ 5 (Green Industry Level 5) จากกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะที่โรงงานปูนซีเมนต์ไทย (ลำปาง) จำกัด ได้รับการตรวจประเมินและรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวระดับ 5 "เครือข่ายสีเขียว" ทั้งในส่วนเหมืองแร่หินปูนและโรงงานเป็นรายแรกของประเทศไทย ด้วยหลักการดำเนินงานและกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนให้ความสำคัญกับการอยู่ร่วมกับชุมชนอย่างยั่งยืนจาก ดร.วิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ณ โรงแรม เซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพ

จึงนับได้ว่าบริษัทปูนซิเมนต์ไทย (ลำปาง) จำกัดที่ได้ผ่านการตรวจประเมินและรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวระดับ 5 "เครือข่ายสีเขียว" ด้วยหลักการดำเนินงานและกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนให้ความสำคัญกับการอยู่ร่วมกับชุมชนอย่างยั่งยืน โดยได้เล็งเห็นสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนจึงมีความมุ่งมั่นปฏิบัติการอย่างมีระบบ วัฒนธรรม และเครือข่ายสีเขียวระดับที่ 5 ซึ่งเป็นระดับสูงสุด และถือเป็นผู้ประกอบการรายแรกของประเทศไทยในการผลักดันให้เป็นอุตสาหกรรมสีเขียวสมบูรณ์แบบจนประสบความสำเร็จได้รับรางวัลที่มีเกียรติอย่างยิ่งเป็นรายแรกของประเทศไทย จัดเป็นผลงานยอดเยี่ยมที่สามารถนำมาพิสูจน์ความจริงใจ จริงจัง มุ่งมั่น และตอบสนองการรักษายึดมั่นหลักการดำเนินการของปูนซิเมนต์ไทย (ลำปาง) จำกัด ที่ว่า "สร้างงาน สร้างความเจริญ รักษาสิ่งแวดล้อม และเป็นพลเมืองดีของลำปาง" ตลอดกาลเวลาที่ผ่านไปถึง 20 ปีได้อย่างเหนียวแน่นมั่นคงอย่างแท้จริง และเราเชื่อว่าในอนาคตบริษัทปูนซิเมนต์ไทย (ลำปาง) จำกัด ก็จะต้องยึดมั่นรักษาคำสัญญานี้













ปริมาณการใช้

ดีเซล  = 80,000 ลิตร/เดือน

ลิกไนท์ = 30,000 ตัน/เดือน

Used Oil = 30 ตัน/3เดือน


Jamebond2507






โรงไฟฟ้าความร้อนเหลือทิ้ง บริษัทปูนซิเมนต์ไทย (ลำปาง) จำกัด