Monday, February 12, 2018

สรุปประเด็นโครงการไทยนิยมยั่งยืน

วันศุกร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม พร้อมทั้งมอบนโยบายและแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามโครงการไทยนิยมยั่งยืน ให้แก่คณะกรรมการอำนวยการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน ผู้บริหารกระทรวงมหาดไทย ตัวแทนหน่วยงานราชการในส่วนภูมิภาค และบุคลากรที่เป็นวิทยากรระดับจังหวัด ณ ห้องรอยัล จูบิลี่ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี

📌 “ไทยนิยม คือ นิยมความดี ความงาม ไม่ใช่ประชานิยม”

     📌โครงการไทยนิยม ยั่งยืน : คือการขับเคลื่อนประเทศให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์ มั่นคง มั่งคั่ง ยังยืน เป็นการร่วมมือกันในการขับเคลื่อนประเทศในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับประเทศ จังหวัด อำเภอ ตำบล อาศัยความร่วมมือกันของหน่วยงานองค์กรเพื่อขับเคลื่อนประเทศไปสู่ความยั่งยืน
     📌โครงการไทยนิยม ยั่งยืน ต้องการให้ทุกส่วนราชการ หน่วยงาน ที่มี แผนงาน/โครงการและงบประมาณลงไปในพื้นที่ ได้มีการบูรณาการ การทำงานร่วมกันเพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนในการลงพื้นที่ ภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ แผนการปฏิรูป และปัญหาในเชิงพื้นที่
     📌โครงการไทยนิยม ยั่งยืน มุ่งขับเคลื่อนการสร้างการรับรู้ ความเข้าใจให้กับประชาชน ถึงการทำงานของรัฐบาล แผนงาน/โครงการและงบประมาณที่หน่วยงานต่าง ๆ ลงไปดำเนินการในพื้นที่ เมื่อประชาชนเกิดความเข้าใจก็จะเข้ามามีส่วนร่วมในการทำงาน เพื่อนำประเทศไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
      📌โครงการไทยนิยม ยั่งยืน เป็นการทำงานใน 2 ลักษณะ ได้แก่ ลักษณะบนลงล่าง (Top-down) คือ นโยบายรัฐบาลลงไปสู่พื้นที่ และลักษณะล่างขึ้นบน (Bottom-up) คือ สะท้อนความต้องการของประชาคมจากการทำประชาคมหมู่บ้าน/ชุมชน

     >> ประเด็นสำคัญที่ต้องดำเนินการโครงการไทยนิยม ยั่งยืน :
           - กิจกรรม/แผนงาน/โครงการที่ดำเนินการแล้วเป็นประโยชน์ต่อชาติ และส่วนรวม
           - การทำงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่จับต้องได้ ประชาชนได้ประโยชน์ และข้าราชการมีความภาคภูมิใจในงานที่ปฏิบัติเพื่อประชาชน
           - การทำงานเพื่อตอบสนอง 1) การสร้างความเท่าเทียม และ 2) การสร้างความเป็นธรรม
             1) การสร้างความเท่าเทียม : ทุกคนได้รับสิทธิ์ในการเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานเท่าเทียมกัน
             2) การสร้างความเป็นธรรม : โดยการดูแลผู้มีรายได้น้อย สร้างโอกาส สร้างรายได้ให้คนกลุ่นนี้
             นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีและยังยืน
     >> โครงการไทยนิยม ยั่งยืน : เกิดจากปัญหาการสร้างโอกาสที่ไปไม่ถึงทุกพื้นที่ รัฐบาลจึงมีแนวคิดการแก้ปัญหาว่าทำอย่างไรให้ประชาชนได้รับโอกาสได้รับประโยชน์จากรัฐบาลอย่างทั่วถึงและครอบคลุมทุกพื้นที่ จึงเกิดเป็น “โครงการไทยนิยม ยั่งยืน” เพราะประชาชนคือรากแก้วของประเทศ การพัฒนาในทุกด้านจึงต้องคำนึงถึงความมั่นคงและความเหมาะสม
     >> สิ่งที่รัฐบาลดำเนินการ : “ผลิตกำลังคน - สร้างพลังทางสังคม - การกระจายรายได้”
           - การกำหนดแผนการดำเนินงาน ทั้ง งาน Function / Agenda / งานบูรณาการ ให้สอดคล้องและตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ชาติ
           - การขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติ โดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง
           - การส่งเสริมเศรษฐกิจทำให้เกิดการจ้างงานสร้างรายได้สร้างโอกาสให้กับผู้ที่มีรายได้น้อย
           - รายได้หลักจากรัฐบาล คือ ภาษีของประชาชนดังนั้นการนำภาษีของประชาชนไปใช้ประโยชน์จะต้องคำนึงถึงความคุ้มค่าและประโยชน์ที่เกิดกับประชาชนอย่างสูงสุด
     >> ไทยนิยม ยั่งยืน ภายใต้แนวคิดประชารัฐ : โดยการบูรณาการทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศไปสู่การเป็นประเทศไทย 4.0 ในทุกด้านอย่างเป็นระบบ มุ่งเน้นการพัฒนาทุกระดับให้เติบโตไปด้วยกันโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
           การพัฒนาที่สำคัญ คือ การพัฒนาคน ให้ไปสู่ 4.0 โดยการสร้างหลักคิดที่ถูกต้อง ผ่านการเรียนรู้และการสร้างความเข้าใจ (คน : เรียนรู้ - เข้าใจ) นำไปสู่การสร้างความปรองดองของชาติทุกระดับทั่วประเทศ ในทิศทางเดียวกัน
           โครงการแผนงานกิจกรรม ของหลายองค์กร และหลายหน่วยงาน มีการดำเนินการตามรูปแบบเฉพาะของแต่ละหน่วยงาน แต่มีเป้าประสงค์ในทิศทางเดียวกัน คือ การพัฒนาประเทศ “ไทยนิยม” คือ การพัฒนาประเทศร่วมกันสอดคล้องกันในรูปแบบและเป้าหมายที่คล้ายถึงกันเพื่อให้เกิดผลลัพธ์เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
     >> สิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนโครงการไทยนิยม ยั่งยืน : ห้ามมองข้ามความต้องการของพื้นที่
          - Big Data  เป็นสิ่งสำคัญเพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน การวิเคราะห์ข้อมูล ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนเพื่อจัดทำโครงการในการพัฒนาโดยเน้นที่ความต้องการของประชาชนเป็นสำคัญ (Big Data มี 2 แบบ : แบบมีโครงสร้าง และแบบไม่มีโครง)
          - ให้ทุกกระทรวงวิเคราะห์บิ๊กกับตาของหน่วยงานตนเองเพื่อให้ทราบว่าสิ่งใดสำคัญ สิ่งใดต้องแก้ไข สิ่งใดต้องทำก่อนทำหลัง และสิ่งใดต้องเร่งพัฒนา ให้ครอบคลุมทุกมิติ (เศรษฐกิจสังคม และความมั่นคง)โดยอาศัยเหตุและผลของข้อมูล รวมถึงบริบทของพื้นที่นั้นนั้นเป็นฐานในการวิเคราะห์เพื่อดำเนินการ
      >> ยุทธศาสตร์การพัฒนา “เข้าใจ เข้าถึงพัฒนา” : โดยต้องมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันและเหมาะสม
           - เข้าใจ หมายถึง เข้าใจในบริบทของพื้นที่
           - เข้าถึง หมายถึง การเข้าถึงความต้องการของประชาชน
           - และจึงพัฒนาตามข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์มา
          ** ไม่มองข้ามความต้องการของพื้นที่
     >> การขับเคลื่อนโครงการไทยนิยม ยั่งยืน :
           1) การสร้างกลไกหลักในระดับพื้นที่ เพื่อสร้างการรับรู้ โดยการสื่อสารสร้างหลักคิดให้กับประชาชนเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ถูกต้อง ชัดเจน และเป็นรูปธรรม
           2) การพัฒนาต่อยอดจาก ประชารัฐ
           3) ส่งเสริมความต้องการของประชาชนในพื้นที่ (ขาดแคนอะไร/ทดแทนให้/ริเริ่มใหม่ โดยการร่วมคิดร่วมทำ)
           4) การกำหนดแผนงาน/โครงการ ต้องได้รับการยอมรับจากกลไกการขับเคลื่อนโดนมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง ผ่านเวทีประชาคม
           5) ด้วยการระเบิดจากข้างใน
           6) หลักการ 3 ประสาน : รัฐ - ราษฎร์ - เอกชน
     📌 ประเด็นเน้นย้ำของนายกรัฐมนตรี ในการขับเคลื่อนโครงการไทยนิยม ยั่งยืน : 3 ประเด็นสำคัญ
           1) “ไทยนิยม ยั่งยืน” คือการสร้างความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดย “การใช้พลังคนไทยในการขับเคลื่อนประเทศไปสู่ความยั่งยืน”
           2) การสร้างการรับรู้ : หน้าที่หลักของรัฐบาล/หน่วยงาน/องค์กรที่เกี่ยวข้อง คือ การสร้างการรับรู้ให้กับประชาชน เพื่อให้เกิดความเข้าใจในแนวคิดการพัฒนาประเทศตามโครงการฯ โดย ผ่านกลไกทีมขับเคลื่อนฯ ทุกระดับ
               ภารกิจหลัก :
               - เข้าถึงประชาชน/ประชุมร่วมกับประชาชน/ขับเคลื่อนและวิเคราะห์หารือกับประชาชน/ร่วมกันพัฒนาในพื้นที่ โดยคำนึงถึงบริบทของพื้นที่
               - โครงการไทยนิยม ยั่งยืน มุ่งขับเคลื่อนการทำงานตามวาระงานสำคัญ 10 เรื่อง คือ 1) สัญญาประชาคมผูกใจไทยเป็นหนึ่ง : ด้วยการสร้างความสามัคคี ปรองดอง จัดให้มีการทำสัญญาประชาคมให้เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย เพื่อรับรู้และปฏิบัติตามร่วมกัน 2) คนไทยไม่ทิ้งกัน: ด้วยการดูแลผู้มีรายได้น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ลงทะเบียนโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ 3) ชุมชนอยู่ดีมีสุข : ด้วยการพัฒนาความเป็นอยู่ อาชีพ และรายได้ให้แก่ ประชาชน ผ่านการปฏิรูปโครงสร้างการผลิตภาคการเกษตร และการ ท่องเที่ยวโดยชุมชน 4) วิถีไทยวิถีพอเพียง : ด้วยการส่งเสริมให้นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต รวมทั้งเสริมสร้างวินัยการออมในทุกช่วงอายุ 5) รู้สิทธิ รู้หน้าที่ รู้กฎหมาย : ด้วยการให้ความรู้แก่ประชาชนในเรื่อง สิทธิ หน้าที่ และกฎหมาย เพื่อการเป็นพลเมืองที่ดี 6) รู้กลไกการบริหารราชการ : ด้วยการให้ความรู้แก่ประชาชน ทั้งเรื่องกลไกการบริหารราชการแผ่นดินแต่ละระดับ และการบริหารงบประมาณที่มุ่งประโยชน์แก่ประชาชน 7) รู้รักประชาธิปไตยไทยนิยม : ด้วยการให้ความรู้กับประชาชนเกี่ยวกับ ระบอบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรง เป็นประมุข และหลักธรรมาภิบาล 8) รู้เท่าทันเทคโนโลยี : ด้วยการให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับเทคโนโลยี ให้ความสำคัญต่อการเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องผ่านโครงการสำคัญ เช่น เน็ตประชารัฐ เป็นต้น 9) ร่วมแก้ไขปัญหายาเสพติด : ด้วยการบูรณาการทุกภาคส่วนในการ ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างครบวงจร 10) งานตามภารกิจของส่วนราชการ/หน่วยงาน (Function)
                - การรายงานผลการขับเคลื่อนทุก 3 เดือน
                - ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำโครงการต่างๆ ดำเนินการในพื้นที่
             3) Big Data : ขอให้ทุกหน่วยงานวิเคราะห์ข้อมูลในหน่วยงานตนเอง เพื่อเป็นฐานในการขับเคลื่อนภารกิจ

สรุป : นันทรัตน์ สุขศรี กผ.พช/สป.มท.
10.45 น.

No comments:

Post a Comment