Monday, February 12, 2018

ไฟเกษตร

ไฟเกษตร คือ การนำไฟฟ้ามาใช้ภายในสวนของเกษตรกรเพื่อทำการเกษตร เช่น ใช้กับเครื่องสูบน้ำ หลอดไฟต่างๆ โดยมีหลักเกณฑ์เข้าร่วมโครงการดังนี้

  1. ได้รับการรับรองจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานราชการ เพื่อยืนยันตัวตนว่าไม่ได้อยู่ในพื้นที่หวงห้ามใดๆ ของทางราชการ
  2. ต้องมีเส้นทางสาธารณะที่รถยนต์สามารถวิ่งผ่านได้อย่างสะดวก
  3. สามารถดำเนินการก่อสร้างระบบจำหน่ายโดยวิธีปักเสาพาดสายไฟเข้าไปถึงจุดที่ขอใช้ไฟฟ้าได้
  4. ได้รับการรับรองจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานราชการ เพื่อยืนยันขนาดพื้นที่และชนิดของกิจกรรมการผลิตทางการเกษตรที่ต้องการใช้ไฟฟ้า
  5. ต้องระบุแหล่งน้ำที่จะใช้เพื่อการผลิตทางการเกษตรในพื้นที่ที่ขอใช้ไฟฟ้า เช่น คลองสาธารณะ คลองชลประทาน แหล่งน้ำใต้ดินในลักษณะต่างๆ
  6. ต้องมีเอกสาร/หลักฐานสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายของพื้นที่ทำการเกษตร แต่ต้องไม่ใช่ที่ดินที่ถือครองโดยเอกชนรายใหญ่
  7. เป็นเกษตรกรรายย่อยที่ขอติดตั้งมิเตอร์ ขนาดไม่เกิน 15(45) แอมป์ ต่อ 1 ราย
  8. ต้องสามารถออกใบแจ้งหนี้ค่ากระแสไฟฟ้ามิเตอร์เครื่องที่ 2 (ใหม่) โดยจะแจ้งเก็บเงินไปที่มิเตอร์เครื่องที่ 1 (เก่า) ทั้งสองมิเตอร์ต้องอยู่ในเขตพื้นที่ของการไฟฟ้าเดียวกัน
  9. ค่าใช้จ่ายในการขยายเขตต่อราย เฉลี่ยไม่เกิน 50,000 บาท (PEA. รับผิดชอบค่าใช้จ่ายการขยายเขต)

เอกสารที่ต้องเตรียม

  1. ใบรับรองจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานราชการ
  2. สำเนาทะเบียนบ้าน
  3. สำเนาโฉนดที่ดิน
  4. สำเนาบัตรประชาชน

ค่าธรรมเนียมในการยื่นขอมิเตอร์ไฟฟ้า

  • 5(15) แอมป์ ค่าธรรมเนียม 1,000 บาท
  • 15(45) แอมป์ 1 เฟส ค่าธรรมเนียม 6,450 บาท
  • 15(45) แอมป์ 3 เฟส ค่าธรรมเนียม 21,350 บาท



#ความรู้เรื่องขอไฟเกษตร ขอไฟเข้าที่ดิน

#ความรู้ที่(1) 
การขอใช้ไฟเพื่อการเกษตร มีขั้นตอนดังนี้ครับ
  -ปลูกสิ่งกอสร้างเล็กๆเพื่อลงคัดเอ้าท์ก่อน
  -เดินสายไฟ ดำ เบอร์16 2เส้นเข้าที่ดิน(ไมมีโฉนด)200เมตร
  -ทำเรื่องขอใช้ไฟฟ้าเพื่อการเกษตร แนบสำเนาบัตรปชช.
    สำเนาทะเบียนบ้าน เอกสารที่ดิน ค่าธรรมเนียน 1350บาท
   -7วัน เจ้าหน้าที่มาตรวจ ติดหม้อจ่ายไฟ
  -1เดือน จ่ายค่าไฟตามบ้านเลขที่ ที่ขอ แต่มีวงเล็บ ไฟพิเศษ
  -ถ้าเดินสายไกลๆ จนท.แนะนำให้ใช้สายไฟเบอร์ใหญ่ขึ้นไฟจะได้ไม่ตก

#ความรู้ที่(2) 
ถ้าไปขอใช้ไฟที่การไฟฟ้า หากขอเพื่อใช้ในสวนไม่มีบ้าน ให้ขอใช้เพื่อการเกษตร รัฐบาลจะมีเงินสมทบให้ไม่เกิน 45,000  บาท แต่ถ้ามีบ้านแล้วและมีบ้านเลขที่จะเป็นครัวเรือน รัฐบาลจะไม่มีเงินสมทบให้ ต้องรอให้มีการขยายเขตไฟฟ้า โดยใช้งบประมาณของการไฟฟ้า หรือ อบต. หรือเทศบาลคะ  จากปลัด อบต.

#ความรู้ที่ (3)
ก่อนอื่นต้องถามคุณก่อนว่า
1.บนที่ดินแปลงนี้มีเลขที่บ้านหรือยัง
2.ถ้ามีแนะนำให้ไปขอไฟฟ้ากับกฟภ.
3.เมื่อกฟภ.คิดค่าใช้จ่ายในการปักเสา-พาดสายให้คุณแล้วสมมุติค่าใช้จ่ายเกิน 50,000 บาท
  3.1 คุณยินดีจ่ายทันทีหรือไม่ถ้าไม่พร้อมคิดว่ามันแพงเกินไป
  3.2 ก็ไม่ต้องจ่ายและแจ้งความประสงค์ขอให้การไฟฟ้าจัดเข้าโครงการโดยคุณยินดีจ่ายสมทบในส่วนที่เกิน 50,000 บาท
  3.3 หรือถ้าไม่เกิน 50,000 บาท คุณก็ไม่ต้องจ่ายแต่ต้องรองบประมาณ ( โดยกฟภ.มีงบประมาณสำหรับบ้านที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ให้หลังละ 50,000 บาท ) ในส่วนนี้คุณต้องร้องเพลงรอถ้าคุณไม่รีบร้อนนัก

#ความรู้ที่ (4)
ที่บ้านนาของผมก็ไม่มีไฟฟ้าใช้ อยู่ติดกับถนนทางหลวงชนบทห่างโรงเรียนประมาณ180เมตร ขอไฟฟ้ามาสองปีกว่าสามปีแล้ว ไฟฟ้าภูมิภาคบอกค่าใช็จ่ายประมาณ200000บาทในการขยายเขตและลงหม้อแปลง1ลูก ผมติดต่อกับอบตมาหลายครั้งขอให้ช่วยเหลือในค่าใช้จ่ายสำหรับบ้าน3หลัง(และอีกหลายหลัง ถ้ามีไฟฟ้าแล้ว) ทางอบตรับปากจะจัดการเรื่องค่าใช้จ่ายให้ บอกปีนี้คงได้แน่ ก็หวังว่าน่าจะได้ ตอนนี้ผนใช็หลอด LED เป็นแสงสว่างอยู่6ชุด ชุดหนึงมี60ดวง ผมถือว่าใช้ได้ดีครับ ผมลองใช้มาหลายอย่างแล้วไม่ว่าตะเกียง หลอดนีออน12V สู้หลอด LED ไม่ได้ครับ ผมใช้แบต 12V 50AMP 1ลูกกับ LED 6ชุดใช้ได้4-5วัน ถ้าไฟอ่อนแสงก็สว่างน้อยหน่อย ไฟเต็มก็สว่างมาก ราคาไม่แพง ชุดละ100บาท และผมก็มีแบต12V100AMPอีก1ลูกต่อกับINVERTORใช้เปิดพัดลมตอนกลางคืน ผมเอาใจช่วยผู้ที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ทุกท่าน ขอให้มีไฟฟ้าใช้ในเร็ววันนะครับ

ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?board=1.0

No comments:

Post a Comment